วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

รายงานวิชา ECT4405 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น


รายงานวิชา ECT4405 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

อ.นพพร ไวคกุล ภาค 2/58

           ระบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

                      - e-learning
                      - ubiquitous
                      - mooc




















วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

การพัฒนาของ web 2.0 ตามหลัก assure model




         


               web 1.0 เป็นเว็บในยุคเริ่มต้น  และยังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน   มักมีรูปแบบของไฟล์เป็นนามสกุลเป็น  .htm   .html  ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารในแบบสื่อสารทางเดียว  ผู้ส่งสารกำหนดเนื้อหาเองทั้งหมด  ต้องมีความรู้พื้นฐานการทำเว็บ  และยากที่จะส่งต่อเนื้อหาออกไป ผู้รับสารมีหน้าที่รับรู้ข่าวสารเพียงอย่างเดียว  ไม่สามารถโต้ตอบได้  เช่นเดียวกับสื่อกระแสหลักอื่นๆ  คือ  หนังสือพิมพ์  วิทยุและโทรทัศน์  เว็บรุ่นเก่านั้น  มักมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของเว็บ  ที่ไม่ต้องการให้นำไปลงที่อื่น  แต่ด้วยความเป็นเครือข่ายที่เปิดกว้าง  กติกานี้จึงเปลี่ยนไป    
ความต่างของเว็บ 1.0
1.             แก้ไขอัพเดตข้อมูลต่างๆในหน้าเว็บได้เฉพาะ webmaster 
2.            สร้างเรตติ้งแบบปากต่อปากได้ยาก  เนื่องจากสื่อสารทางเดียว
3.            ให้ข้อมูลความรู้แบบตายตัว  การเปลี่ยนแปลง

 Web 1.0    ยังเป็นยุคแรกๆ ที่คนส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มรู้จักอินเทอร์เน็ตทำให้การใช้งานยังไม่
หลากหลายมากนัก ดังนั้นการใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะของการรับส่งข่าวสารผ่านอีเมล์ การพูดคุยโต้ตอบแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรมต่างๆ การดาวน์โหลดเพลงและภาพต่างๆ จากเว็บไซต์ที่ให้บริการ แต่ก็ยังมีแนวโน้มการพัฒนารูปแบบบริการให้กับผู้ใช้งานได้ติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากความพยายามที่จะสร้างชุมชนออนไลน์เพื่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างเจ้าของเว็บไซต์และผู้เข้าชมมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากหลายเว็บไซต์เริ่มมีการนำกระดานข่าว (webboard) มาให้ผู้อ่านหรือผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้แสดงความคิดเห็นต่างๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน แต่ระบบของกระดานข่าวอาจจะยังไม่เอื้อในเรื่องของการเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไว้เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นสามารถกลับเข้ามาอ่านได้อีก หรือบางครั้งการจัดเก็บข้อมูลยังไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบเพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น รวมถึงผู้ใช้งานเป็นผู้อ่านได้เพียงฝ่ายเดียว ยังไม่สามารถเพิ่มเนื้อหาหรือโต้ตอบกันได้มากนัก นับได้ว่าเป็นข้อจำกัดที่พบในการใช้งานเว็บไซต์ยุค Web 1.0 ที่ส่งผลให้มีพัฒนาคิดค้นเว็บไซต์ให้อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานได้มากขึ้นจึงกลายมาเป็นเว็บไซต์ยุคWeb2.0ในเวลาต่อมา

เครื่องมือเว็บ 2.0 ที่เรารู้จัก
-                   ภาพ  google-Images
-                   วิกิ  Wikispace
-                   เครือข่ายสังคม Facebook  ,MySpace, Hi5
-                   วีดิโอ   YouTube 
-                   เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง  Skype
ตัวอย่างเว็บไซต์ยุค Web 2.0
ข้อมูลการจัดอันดับความนิยมของเว็บไซต์ Alexa.com เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า เว็บไซต์10 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกขณะนี้มีหลายเว็บไซต์ที่เป็นเว็บไซต์ในลักษณะ Web 2.0 และประสบความสำเร็จได้จากบุคคลหลายล้านคนทั่วโลกที่เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 5 เว็บไซต์ชื่อดังและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งานทั่วโลกคือ
YouTube
จัดเป็นอีกหนึ่งใน Web 2.0 ชั้นนำที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันติดอันดับ 2 ของโลก รองจากเว็บไซต์ Yahoo.com สำหรับ YouTube นั้น เป็นเว็บไซต์ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2005 โดยการรวมตัวของอดีตพนักงานบริษัท PayPal คือ Chad Hurley, Steve Chen และ Jawed Karim ซึ่งต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี 2006 Google ได้ตัดสินใจซื้อบริษัท YouTube เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ ซึ่งการตัดสินใจครั้งนี้ทาง Google มองว่า YouTube เป็นชุมชนออนไลน์ที่เน้นทางด้านวิดีโอเพื่อความบันเทิงที่มีขนาดใหญ่และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนจุดเด่นของ Google คือความเชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศและการสร้างโมเดลใหม่ทางด้านการโฆษณา ดังนั้น การรวมกันของทั้งสองบริษัทจะสามารถนำเอาประสบการณ์ที่ดีของแต่ละฝ่ายมาใช้ร่วมกันได้เพื่อนำเสนอรูปแบบบริการใหม่ที่น่าสนใจแก่กลุ่มผู้ใช้งานได้มากขึ้น 
จุดเด่นของเว็บไซต์ YouTube
ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือการเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถ upload และแลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอได้อย่างอิสระจากทั่วทุกมุมโลก โดยผู้ใช้งานสามารถชมวิดีโอออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ที่แสดงภาพวิดีโอจากซอฟต์แวร์ Macromedia Flash ซึ่งเป็นโปรแกรมเสริมที่ผู้ใช้งานต้องติดตั้งเพิ่มสำหรับ Web Browser ทั่วไป นอกจากผู้ใช้งานจะชมวิดีโอผ่านทางเว็บไซต์แล้ว ยังสามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อินเทอร์เน็ตได้อย่าง iPhone หรือแม้แต่เว็บไซต์ทั่วไปในปัจจุบันที่มีการเชื่อมโยงกลับมาที่เว็บไซต์ YouTube ซึ่งเราจะเห็นกันตามเว็บบอร์ดและ Blog ต่างๆ  สำหรับรูปแบบเนื้อหาที่มีใน YouTube ในปัจจุบันนี้มีให้เห็นกันค่อนข้างหลากหลายประเภทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอ วิดีโอจากทางบ้าน งานโฆษณาทางโทรทัศน์ และบางส่วนที่ตัดมาจากภาพยนตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ทาง YouTube เองก็ยังมีการกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมและจำกัดการใช้งานสำหรับการเผยแพร่คลิปวิดีโอที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน โดยผู้ใช้งานสามารถร้องเรียนและแจ้งให้ทางบริษัทลบข้อมูลดังกล่าวได้
Wikipedia
เป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกเว็บไซต์หนึ่งที่น่าจับตามองอย่างมากเนื่องจากมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังเป็นแหล่งของคลังข้อมูลสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้เองทำให้ปัจจุบัน Wikipedia ได้รับการจัดอันดับจากเว็บไซต์จัดอันดับยอดนิยมอย่าง Alexa.com ว่าเป็น 1 ใน 10 เว็บไซต์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก
สำหรับจุดเด่นของ Wikipedia คือการนำเสนอเนื้อหาลักษณะเสรีโดยการเปิดโอกาสให้อาสาสมัครจากทั่วโลกเข้ามาสร้าง แก้ไข และปรับปรุงเนื้อหาร่วมกันได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ ข้อมูลในเดือนธันวาคมปี 2007 ที่ผ่านมา พบว่า Wikipedia มีเนื้อหากว่า 9 ล้านบทความ ใน 253 ภาษา โดยเฉพาะ Wikipedia ฉบับภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหามากกว่า 2,500,000 เรื่องเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม การเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไขเนื้อหาได้อย่างอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ Wikipedia กำลังได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า เนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ
และถูกต้องมากน้อยเพียงไร แม้ว่าเมื่อไม่นานมานี้จะมีทีมนักวิจัยพยายามพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของ Wikipedia โดยทำการทดสอบความถูกต้องของ Wikipedia ฉบับภาษาอังกฤษเปรียบเทียบกับสารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอย่าง Britannica โดยนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ไปทดสอบ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาน่าพอใจคือ มีความถูกต้องใกล้เคียงกัน รวมถึงความผิดพลาดข้อมูลและการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยและอาจารย์ผู้สอนจำนวนมากยังไม่สนับสนุนให้ผู้เรียนนำ Wikipedia มาใช้อ้างอิงในงานวิชาการ ซึ่งแม้แต่ Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia เองก็ยังกล่าวเหตุผลสนับสนุนโดยเน้นว่า สารานุกรมชนิดใดๆ นั้นโดยปกติแล้วไม่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) และผู้ใช้งานไม่ควรไว้วางใจว่าเนื้อหาดังกล่าวว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ แต่เนื้อหาที่มีใน Wikipedia เป็นเพียงช่องทางหนึ่งที่รวบรวมแหล่งอ้างอิงให้ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลต่อไปเท่านั้น

สรุป
ด้วยความหลากหลายและพัฒนาอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี  ประกอบกับกับเทคโนโลยีมีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมของผู้ใช้งาน  ทำให้ web 2.0 ได้แพร่ความนิยมไปสู่วงการศึกษา  โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน  ซึ่ง web 2.0 มีลักษณะที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการศึกษาได้อย่างรวดเร็วและเข้ากันได้ดี

ในวงการศึกษาต่างประเทศ มีการนำเทคโนโลยี ของ web 2.0 มาใช้กับการจัดการศึกษา ผ่านระบบ E-Learning อย่างหลากหลายและแปลกใหม่โดยใช้เครื่องมือในการผสมผสานจัดการศึกษาผ่านระบบ   E-Learning  ดังนี้
1.            การนำเสนองานด้วย Google เป็นการนำเสนอด้วยเอกสารผ่านเทคนิค ของ Google
2.            การสาธิตการใช้ web 2.0  Tool  ด้วยทิปและหัวข้อสนทนาใน Google
3.            การใช้ Blog  ในการสอนโดยผู้สอนตั้งคำถามบน บล็อกและผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าตอบคำถาม
การนำเสนอ UStrem  ซึ่งมีการนำเอาเสียง การบันทึกวีดีโอและรายการสด มาใช้ร่วมกันได้

เมื่อนำมาเปรียบเทียบ web 1.0 , web 2.0 และ web 3.0 ( ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต )
Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว (read-only)
แต่พอมาเป็น  web 2.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ด้วย (read-write)

Web 1.0 เจ้าของเว็บเป็นผู้สร้างระบบและเนื้อหาบนเว็บ ผู้เข้าชม อ่านอย่างเดียว
Web 2.0 เจ้าของเว็บสร้างระบบและเนื้อหาบนเว็บ ผู้เข้าชมสร้างเนื้อหาบนระบบเดียวกับเจ้าของเว็บแล้วให้ผู้ชมอื่นๆ ได้ดูต่อ จนเป็นที่มาของ Social Network

แต่พอมาเป็น Web 3.0 จะกลายเป็น อ่าน/เขียน/จัดการ ได้สามอย่างพร้อมกัน
 (read-write-execute) คราวนี้ความสามารถของมันก็จะมากมายมหาศาล แทนที่จะเข้าไปอ่านและเพิ่มข้อมูล เราก็จะสามารถปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้เองอย่างอิสระมากขึ้น Web 3.0 แทนที่เราจะค้าหาข้อมูลใดสักตัวแล้วไปเจอแต่ข้อความน่าเบื่อ คราวนี้เราจะสามารถไปเจอข้อมูลอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นข้อความเสมอไปดังนั้น Web 3.0 คือเทคโนโลยีหรือแนวความคิดที่จะ เชื่อมโยงข้อมูลใน web ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันทั้งภายใน web หรือภายในเครือข่ายของโลก ซึ่งมองไปแล้วมันก็คือ Database ของโลกเลย แต่ก็เป็นแนวคิดที่จะทำให้หาข้อมูล ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็จะมี format ข้อมูลในการติดต่อสื่อสารกัน แต่ก็ based-on XML เช่นพวก RDF (Resource Definition Framework), OWL (Ontology Web Language) ยุคของเว็บ 3.0 นี้เองที่มีความฉลาดล้ำหน้าไปอย่างมาก และความฉลาดของมันนี่เองจะนำซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และท้าทายเหล่าผู้พัฒนาเว็บไซต์และผู้ใช้มีจัดทำเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ ต่อไปในอนาคต

 





 อ้างอิง :



วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่องเล่านางอัปสรา



นางอัปสรา



            คงไม่มีใครที่เข้าไปเดินในนครวัดแล้วไม่เห็น

“นางอัปรา”เพราะในนครวัดมีรูปสลักนางอัปสราประดับอยู่ทุกซอกทุกมุม 
ซึ่งในปี พ.ศ. 2544 มีนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสและชาวเขมรร่วมกันใช้ความพยายาม(อย่างสูง)นับนางอัปสรา(อย่างเป็นทางการ)ในนครวัดได้ถึงประมาณ 1,800 องค์!!!


              แต่ว่านางอัปสราที่นครวัดดูจิ๊บจ๊อยไปทันทีหากเทียบกับการเกิดของนางอัปสราที่มาพร้อมกับการกวนเกษียรสมุทรของเหล่าเทวดาและอสูรเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำอมฤต ที่ทั้งสองต่างต้องก็อยากได้มาดื่มเพิ่มอิทธิฤทธิ์ให้กับตัวเองตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู

       การกวนเกษียรสมุทรในครั้งนั้นนอกจากจะทำให้เกิดกรณี“แค้นฝังลึก”ระหว่างอสูรกับเทวดาแล้ว ฟองน้ำที่ผุดขึ้นมาจำนวนมากมายมหาศาลได้ก่อเกิดเป็นนางอัปสรานับแสนๆนาง (บางตำนานว่ามีมากถึง 35 ล้านฟอง) ซึ่งเรื่องราวตำนานการกวนเกษียรสมุทร การยุดนาคของเหล่าเทวดาและอสูร รวมถึงการเกิดนางอัปสรา ที่นครวัดมีภาพจำหลักหินให้ชมอย่างละเอียดบนระเบียงทางเดินด้านหนึ่ง

            อัปสราผู้ต้องชะตากาม
       สำหรับการเกิดของนางอัปสราหรือที่บ้านเรามักเรียกว่า“นางอัปสร”ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงแปลความแบบตรงตามศัพท์ไว้ว่าหมายถึง“นางผู้กระดิกอยู่ในน้ำ”นั้น ส.พลายน้อย ได้เล่าไว้ในหนังสือเรื่อง“อมนุษยนิยาย”ว่า เหล่านางอัปสราที่เกิดมาล้วนแต่เป็นนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้เลอโฉมที่แต่งองค์ทรงเครื่องอย่างงดงาม

       แต่อนิจจา...นางอัปสราที่เกิดขึ้นมาตามตำนานที่ ส.พลายน้อยเล่า ถือว่าเป็นนางฟ้าที่โชคร้ายเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกนางถูกกล่าวหาว่าเป็นหญิงที่ไม่เคยรักใครจริงจัง ชอบเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆซึ่งก็คล้ายๆกับดาราในบ้านเราบางคน ทำให้เหล่าเทวดาและอสูรจึงเห็นนางอัปสราเป็นแค่นางบำเรอกามที่มีไว้เพื่อช่วยให้เสร็จสมอารมณ์หมายเท่านั้น 







            เรียกว่าตามตำนานนี้สร้างนางอัปสราให้ดูน่าสงสารกึ่งน่าสมเพชควบคู่กันไป โดยหลายๆคนเชื่อว่านางอัปสราในนครวัดสร้างขึ้นตามความเชื่อนี้ เพราะพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ต้องการสร้างนครวัดให้เป็นดังสวรรค์จำลองถวายแก่พระวิษณุ ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างนางอัปสราขึ้นมาเพื่อเป็นนางฟ้าฟ้อนรำ และนางบำเรอกามแก่เหล่าเทวดาที่อาศัยอยู่บนสรวงสวรรค์(จำลอง)

        อัปสราผู้ต้องชะตากรรม

       มาดูเรื่องราวของนางอัปสราในอีกหนึ่งคติความเชื่อกันบ้าง

       ความเชื่อนี้เชื่อว่านางอัปสราคือนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้รับใช้และคอยดูแลศาสนสถาน ซึ่งความเชื่อนี้คล้ายกับความเชื่อของชาวเขมรที่พวกเขาต่างยกย่องนางอัปสราเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานและเป็นเทพธิดาแห่งความดีงาม ที่หากใครได้ไปเที่ยวชมนางอัปสราตามปราสาทขอมต่างๆในเขมร ไม่ว่าจะเป็นนครวัด ปราสาทบันทายสรี ปราสาทบายน ฯลฯ ก็ไม่ควรที่จะนำความเชื่อเรื่องนางอัปสราเป็นนางบำเรอกามไปพูดคุยกับคนเขมร เพราะว่าดีไม่ดีอาจมีการต่อยตีกันได้

       กลับมาที่ความเชื่อเรื่องนางอัปสราเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานกันต่อ เรื่องนี้ถือว่ามีเค้าต่อการสร้างรูปสลักนางอัปสราจำนวนมากมายในนครวัด เพราะพื้นที่ของนครวัดนั้นออกจะใหญ่โต ซึ่งก็ทำให้เหล่าเทพธิดาผู้ดูแลย่อมมีจำนวนมากมายตามไปด้วย

       อนึ่งเหล่านางอัปสราที่มีอยู่มากมายและถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการเดินชมนครวัดนั้น แต่ละนางถือเป็นงานระดับมาสเตอร์พีซของช่างชาวขอมโบราณที่ไม่มีการสลักหินซ้ำแบบกันแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทางที่เป็นอากัปกริยาเฉพาะตัวที่มีการถอดแบบมาเป็น“รำอัปสรา”หรือเรื่องของทรงผมที่มีมากมายหลายทรง ทั้งแสก แหวก เสย เกล้ามวย ผมทรงห่วง 1 ห่วง 2 ห่วง 3 ห่วง ผมชี้ ผมตั้งเด่ ผมทรงเซลล่ามูน และอีกสารพัดทรงจนหลายๆคนยกให้เหล่านางอัปสรานครวัดเป็นเจ้าแห่งแฟชั่นทรงผมนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเพราะสารพัดทรงผมอันหลากหลายนี้หรือเปล่า ที่ทำให้ร้านเสริมสวยหลายๆร้านในเสียมเรียบนิยมประดับรูปนางอัปสราเอาไว้








จากลักษณะท่าทางการแต่งองค์ทรงเครื่องและทรงผมอันเป็นเอกลักษณ์ ช่วยเสริมส่งให้นางอัปสราในนครวัดมีความโดดเด่นและน่าชมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนางอัปสราที่เด่นๆ ในนครวัดเท่าที่ผมจำได้ก็มี

       นางอัปสรายิ้มแฉ่ง อยู่แถวซุ้มประตูชั้นแรกก่อนถึงตัวปราสาท ที่ถือเป็น 1 ใน 2 ของนางอัปสราทั้งหมดที่บนใบหน้ามีรอยยิ้ม(แฉ่ง)มองเห็นฟัน ซึ่งช่างที่สลักหินอัปสรานางนี้คงอารมณ์ดีมากสลักหินไปยิ้มไป สุดท้ายเลยใส่รอยยิ้มไปบนใบหน้านางอัปสราด้วย

       นางอัปสราผ้าหลุด มีอยู่หลายนางแต่ต้องสังเกตกันหน่อย ว่ากันว่าบางทีช่างขอมโบราณอาจตอกหินแรงไปหน่อย หรือไม่ก็เป็นอารมณ์อีโรติกแบบขำขำของช่างขอมโบราณเพราะอัปสราบางนางได้เอามือปิดของสงวนเอาไว้ด้วย

       นางอัปสราตะปุ่มตะป่ำ มีอยู่ในบางซอกบางมุม เข้าใจว่าไม่ใช่นางอัปสราเป็นโรคเรื้อนอย่างที่ลานพระเจ้าขี้เรื้อนในนครธม แต่น่าจะมาจากช่างขอมโบราณเพิ่งสลักหินเสร็จยังไม่ได้มีการขัดแต่งให้เนื้อตัวนางอัปสราเกลี้ยงเกลาแต่อย่างใด

       นางอัปสราลิ้น 2 แฉก อยู่ที่องค์ปรางค์ประธาน ไม่รู้ว่าช่างขอมโบราณพลั้งมือสลักพลาดไป หรือว่าช่างคนนี้โดนสาวคนรักลวงหลอกจึงหาทางมาระบายออกที่รูปสลักนางอัปสราแทน



นางอัปสราสุดอึ๋ม เมื่อขึ้นไปบนปรางค์ประธานฝั่งขวา ค่อยๆใช้สายตาแหงนมองไล่ขึ้นไป หากใครเห็นอัปสรานางหนึ่งมีถันกลมกลึงอึ๋มอั๋นกว่าใครเพื่อนนั่นแหละใช่เลย นางอัปสราสุดอึ๋มที่แม้แต่น้องตั๊กยังต้องชิดซ้าย และด้วยความที่อัปสรานางนี้อยู่สูงจึงทำให้ถันของอยู่รอดปลอดภัยจากการถูกสัมผัสมาจนถึงบัดนี้

       ส่วนนางอัปสราที่สวยที่สุด จริงๆแล้วก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวว่าใครรักแบบไหน ชอบแบบไหน แต่ที่หลายๆคนยกให้ว่าเป็นนางอัปสราที่มีความสวยสง่าและมีองค์ประกอบแห่งความงามมากที่สุดก็คือ อัปสรานางหนึ่งที่แอบอยู่ในหลืบข้างช่องประตูใจกลางปรางค์ประธานที่มีใบหน้าอมยิ้มยกสองมือมือประคองถือดอกไม้ ที่ผมดูแล้วก็ให้รู้สึกเพลินตาเพลินใจดี

       แต่ว่าอัปสรานางนี้ไม่ใช่นางอัปสราที่ฮอตฮิตที่สุด เพราะนางอัปสรา(ขวัญใจ)มหาชนนั้นอยู่ที่ใกล้กับใจกลางปรางค์ประธานอีกเหมือนกัน

       อัปสรามหาชนนางนี้ คนเขมรที่นับถือนางอัปสราต่างเชื่อว่าใครที่อยากมีลูกหรือมีลูกยาก หากไปลูบจับถันของอัปสรานางนี้ก็จะได้ลูกสมดังปรารถนา แต่ว่ากับนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่มักจะไปจับถันนางอัปสราแบบเอามันหรือไม่ก็จับตามคนอื่น จนทำให้เนื้อตัวท่อนบนของอัปสรานางนี้ถูกคนจับจนมันเลื่อม โดยเฉพาะที่ปทุมถัน 2 ข้างนี่ถูกลูบจับจนมันวับเหมือนลงแว็กซ์ยังไงยังงั้น ซึ่งผมถือว่ารูปสลักอัปสรามหาชนนางนี้มีชะตากรรมน่าสงสารที่สุดในนครวัด...


       “นครวัด”หรือ “Angkor Wat”  1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน สร้างขึ้นในสมัย“พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2” (ครองราชย์ พ.ศ.1655-1693)ซึ่งใช้เวลาถึง 37 ปี(พ.ศ.1656-1693) ปัจจุบันนครวัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของกัมพูชา   ในนครวัดนอกจากจะมีรูปสลักนางอัปสราแล้วก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอาทิ องค์ปรางค์ประธาน ภาพจำหลักหินที่ระเบียงทางเดิน สระน้ำขนาดใหญ่ที่หากเดินไปถูกมุมก็จะเห็นปรางค์ 5 องค์ของนครวัดเป็นเงาสะท้อนอยู่ในสระ




          จากลวดลายจำหลักนางอัปสรขอมสมัยบายนตอนปลา­ย และหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ได้ถูกนำมาเป็นแนวคิดในการประดิษฐ์เป็นการ­แสดงชุดเทพอัปสรพนมรุ้ง แสดงครั้งแรกในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนร­าชสุดาบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวั­ติศาสตร์พนมรุ้ง
ปี พ.ศ.2530


          "ระบำเทพอัปสรพนมรุ้ง" เกิดจากแนวความคิดสร้างสรรค์ ของอาจารย์เฉลย ศุขวณิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น เพื่อให้สอดคล้องและกลมกลืนกับภาพจำหลักขอ­งนางอัปสร อันเป็นสถาปัตยกรรมศิลปขอมบายนตอนปลายต่อก­ับนครวัดตอนต้น ที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง

              อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำเพลง"เขมรกล่อมลูก" และ "เขมรชมดง" จากของเดิมมาปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยใช้ท่ารำของนางอัปสรที่ถือดอกบัวเพื่อถ­วายบูชา ณ ศาสนสถานแห่งนี้ นางอัปสรเป็นภาพจำหลักอันสวยงามที่มักจะพบ­เห็นอยู่ ณ ปราสาทแบบขอม โดยเฉพาะที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ลีลาการร่ายรำอันอ่อนช้อยงดงาม ตรึงตา ตรึงใจ ผู้ได้พบเห็นการแสดงนี้จึงเกิดขึ้นจากจินต­นาการของผู้ประดิษฐ์ท่ารำ ที่ต้องกา
ลองรถ่ายทอดความงดงามของนางอัปสรจาก­แผ่นศิลาสู่สีสันของท่ารำอันอ่อนช้อย วิจิตรบรรจง

เพลง ระบำเทพอัปสรพนมรุ้ง




          ท่ารำที่ใช้ประกอบเพลง ระบำเทพอัปสรพนมรุ้ง